โพรโตซัว (protozoal)
โพรโตซัว เป็นยูคาริโอติกโพรทิสต์ ที่พบเป็นเซลล์เดียวเป็นส่วนใหญ่ มีความแตกต่างจากยูคาริโอติกโพรทิสต์อื่น โดยสามารถเคลื่อนที่ได้ใน บางระยะของวงจรชีวิตและไม่มีผนังเซลล์ โพรโตซัวมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5-250 ไมโครเมตร เซลล์ของ โพโตซัวอาจมารวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่เรียกว่า โคโลนี (colony) โดยสีสายไซโทรพลาซึมเชื่อมกัน การศึกษาเกี่ยวกับโพรโตซัว จัดเป็นวิชาวิทยาสัตว์เซลล์เดียว (Protozoology)
พบในแหล่งที่อยู่ที่ชื้นแฉะ มักพบในทะเล ดิน น้ำจืด สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมได้โดยการแปรสภาพเป็นซีสต์ (cyst) ซึ่งแบ่งโพรโตซัวเป็น 2 กลุ่ม คือ พวกดำรงชีวิตแบบอิสระ (free living) และพวกที่อาศัยอยู่กับสิ่งมีชีวิตอื่น (symbiont)
1. โพรโตซัวที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระ
พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำ เช่น น้ำเค็ม น้ำจืด ดิน ทรายหรือบริเวณที่มีซากอินทรีย์เน่าเปื่อยผุพัง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระจายและ จำนวนของโพรโตซัวในแหล่งที่อยู่ คือ อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง สารอาหารที่เพียงพอ และสภาวะแวดล้อมซึ่งรวมถึงสภาวะ ทางกายภาพและชีวภาพ
2. โพรโตซัวที่อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น
ความสัมพันธ์ระหว่างโพรโตซัวกับสิ่งมีชีวิตอื่น แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- คอมเมนซัลลิซึม (Commensalism)
เป็นการอยู่ร่วมกันโดยโฮสต์ไม่เสียประโยชน์และไม่ได้ประโยชน์ ยังสามารถแบ่งย่อยได้ เป็น 2 ชนิด คือ- เอคโทคอมเมนซัลลิซึม (ectocommensalism) โดยโพรโทซัวจะอาศัยอยู่กับร่างกายของโฮสต์ ตัวอย่างเช่น Entamoeba gingivalis อาศัยอยู่ที่โคนฟันคอยกินเศษอาหาร
- เอนโดคอมเมนซัลลิซึม (endocommensalism) โพรโทซัวจะอาศัยอยู่ภายในร่างกายของโฮสต์ เช่น ในลำไส้ ตัวอย่างเช่น Entamoeba coli เป็นโพรโทซัวที่คอยกินแบคทีเรียในลำไส้
- ภาวะพึ่งพากัน (Mutualism)
เป็นการอยู่ร่วมกันโดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เช่น โพรโตซัวจำพวกแฟลกเจลเลต ชื่อ Trichonympha ที่อยู่ในลำไส้ปลวก ช่วยย่อยไม้ให้เป็นอาหารของปลวก โพรโตซัวและปลวกจะแยกออกจากกันไม่ได้ - ภาวะปรสิต (parasitism)
เป็นการที่ปรสิตเข้าไปอาศัยอยู่กับโฮสต์อื่น โดยอาจเข้าไปในเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของโฮสต์ และอาจ ทำให้เกิดพยาธิสภาพขึ้น โพรโตซัวพวกสปอโรซัวเป็นปรสิตที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค