ความรู้เกี่ยวกับแมลงวัน (Knowledge about Fly)
“ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร” มีสภาพอากาศร้อนชื้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของแมลงชนิดต่างๆ
แมลงวัน
- เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหากับคนมากมาย ก่อให้เกิดความรำคาญแก่คนและสัตว์
- เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วนมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และ แมลงวันหัวเขียว
- มักกินอาหารที่เป็น เนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และ ชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด
- รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร
- ออกลูกเป็นไข่ และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย
- วงจรชีวิตของแมลงวัน ตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัย กินเวลาประมาณ 8 – 10 วัน
แมลงวันบ้าน (House flies)
- จัดอยู่ใน Family Muscidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musca domestica และมีชื่อสามัญว่า common house fly เป็นแมลงวันที่มี การแพร่กระจายทั่วโลกทั้งเขตร้อน เขตอบอุ่น รวมทั้งเขตหนาวบางพื้นที่ จัดว่าเป็นแมลงวันที่มีความใกล้ชิดกับคน และมีความ สำคัญมากที่สุดที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข และปศุสัตว์
- มีความสำคัญทางการแพทย์และสัตวแพทย์ โดยเป็นพาหะนำเชื้อที่ก่อให้ เกิดโรคหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยังเป็นตัวนำไข่พยาธิชนิดต่างๆ และเป็นโฮสต์กึ่งกลางของพยาธิตัวกลมหลายชนิดในสัตว์
แมลงวันบ้าน (House flies)
มีความยาว 5.6-6.5 มิลลิเมตร และตัวเมียมีความยาว 6.5-7.5 มิลลิเมตร ลำตัวของแมลงวันไม่มีสีสะท้อนแสง มีสีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีเข้ม พบแพร่กระจาย อย่างกว้างขวางในทุกจังหวัดของประเทศไทย พบมากในช่วงฤดูร้อน ในคอกสัตว์ที่มีอาหาร ตกหล่นบนพื้น และมีกองอุจจาระสัตว์บริเวณใกล้คอก จะพบแมลงวันจำนวนมาก เช่น คอกสุกร และคอกไก่ แมลงวันเหล่านี้ จะรบกวนสัตว์ตลอดเวลา ทำให้สัตว์พักผ่อนไม่ได้เต็มที่ และกิน อาหารลดลงซึ่งอาจเป็นผลทำให้ผลผลิตจากสัตว์ลดลงด้วย
วงจรชีวิตแมลงวันบ้าน
มี 4 ระยะด้วยกัน ได้แก่
1. ระยะไข่
แมลงวันบ้านจะวางไข่บนสิ่งขับถ่าย มูลสัตว์ สิ่งปฏิกูลที่มีความชื้นสูง ไข่มีรูป ร่างค่อนข้างเรียวยาวคล้ายกล้วยหอม (banana shape) มีขนาดเล็กยาวประมาณ 1.0-1.2 มิลลิเมตร สีขาวขุ่นหรือสีครีม ระยะไข่ต้องการความชื้นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลาของ การเจริญจากไข่ไปเป็นตัวหนอนขึ้นอยู่กับอาหารและอุณหภูมิ ไข่จะฟักภายใน 6-12 ชั่วโมง
2. ระยะตัวหนอน
มี 3 ระยะ ลำตัวประกอบด้วยปล้อง 12 ปล้อง มีการ ลอกคราบ 2 ครั้ง โดย
- ระยะที่ 1 มีขนาดความยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร
- ระยะที่ 2 ยาว ประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และ
- ระยะที่ 3 ยาวประมาณ 5-13 มิลลิเมตร ตัวหนอน มีลักษณะ ทรงกลมยาวคล้าย เม็ดข้าวสาร หัวค่อนข้างแบน ส่วนท้ายจะกลม ไม่มีรยางค์
ตัวหนอนระยะที่ 1 จนถึง ระยะที่ 3 จะมีลำตัวค่อนข้างใส ก่อนที่จะเข้า ระยะดักแด้ จะมีสีขาวหรือสีเหลืองเล็กน้อย ตัวหนอนระยะท้ายของระยะที่ 3 อาจเรียกว่า prepupae ตัวหนอนจะมีปากที่มีอวัยวะ คล้ายตะขอเรียกว่า mouth hook ทำหน้าที่ ในการกินอาหารและการเคลื่อนย้ายตัว ตัวหนอน ระยะที่ 1, 2 และระยะที่ 3 ตอนต้น เป็นระยะตัวหนอนที่กินอาหารที่อยู่ใน ธรรมชาติ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ และเศษสิ่งปฏิกูลที่มีโปรตีนและวิตามิน อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ 35 องศาเซลเซียส และต้องการความชื้นสูงมาก ตัวหนอนระยะที่ 1 ต้องการ ความชื้นสูงกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ ตัวหนอนเหล่านี้ จะไม่ชอบแสงและจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ตัวหนอนระยะที่ 3 ช่วงปลายจะหยุดกินอาหาร และเปลี่ยนไปเป็นระยะก่อนเข้า ดักแด้ ตัวหนอนระยะนี้ไม่ชอบกลิ่นเหม็นและต้องการความแห้ง จะเคลื่อนตัวขึ้นสู่พื้นผิวอาหารที่มี ความแห้ง และจะเข้าสู่ ระยะดักแด้
3. ระยะดักแด้
เมื่อตัวหนอนระยะที่ 3 เจริญเต็มที่แล้วจะกลายเป็นดักแด้ ดักแด้ที่เจริญ เต็มที่แล้วมีความยาว 6-8 มิลลิเมตร และมีลักษณะคล้าย ถังเบียร์ (barrel-shape) ระยะแรก ดักแด้จะมีสีเหลืองครีม แต่เมื่อแห้งจะกลายเป็นสีแดง และในที่สุดจะมีสีน้ำตาลเข้ม ช่วง ระยะดักแด้นานประมาณ 14-28 วัน
4. ระยะตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัยของแมลงวันออกจากดักแด้ โดยการดันออกที่ปลายด้านหน้าของดักแด้ด้วยอวัยวะที่เรียกว่า ptilinal sac อวัยวะดังกล่าว จะบวมขยายออก ความดันของ ถุงนี้จะทำให้เกิดรอยแยกตามแนวนอนรอบๆ ถุงดักแด้ที่ระดับของปล้องที่ 5 ของผิวตัวหนอน เดิม ถ้าแมลงตัวเต็มวัยโผล่ออกมาจากถุงดักแด้ในกองปุ๋ยระดับที่ลึกๆ แมลงจะไชผ่านขึ้นมา ที่ผิวของกองปุ๋ย โดยการพองตัว และหดตัวของ Ptilinum sac
พฤติกรรมการกินอาหาร (Feeding behavior)
แมลงวันบ้านสามารถกินอาหารของคนได้ทุกชนิด ตลอดจนมูลของคนและสัตว์ สามารถ มีชีวิตอยู่ได้เมื่อได้รับน้ำและน้ำตาลหรือ คาร์โบไฮเดรต ตัวเมียต้องการอาหารประเภทโปรตีน เพื่อใช้ในการพัฒนาของไข่ การเข้าหาอาหารโดยการบินสุ่ม และสิ่งที่ช่วย กระตุ้นคือ การมอง เห็น และการได้รับกลิ่น การรับรู้อาหารจะใช้ส่วนปากและส่วนขา จะดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว แต่ถ้าเป็น อาหารแข็งมันจะปล่อยน้ำลายออกมาทำให้อาหารเปียกเพื่อให้อาหารอ่อนตัวก่อนที่ จะดูดกิน
แหล่งเพาะพันธุ์ (Breeding sites)
- มูลสัตว์ แมลงวันบ้านจะวางไข่ในมูลสัตว์ต่างชนิดกันในแต่ละภูมิภาค มูลวัวเป็นแหล่ง วางไข่ที่สำคัญในหลายภูมิภาคของโลก นอกจากนี้ยังมีมูลสัตว์อื่นๆ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ได้แก่ ลา แพะ แกะ กระต่าย กระบือ อูฐ ในประเทศไทยแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีของ แมลงวันบ้าน คือ มูลสุกรและมูลไก่
- เศษอาหารและสิ่งปฏิกูลจากกรรมวิธีการผลิตอาหาร เช่น เปลือกผลไม้บางชนิด นอกจากนี้ดินที่เปียกด้วยเศษอาหารก็สามารถเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ได้
- อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ได้แก่ ปลาป่น กระดูกป่น กากจากการสกัดน้ำมันพืชบางชนิด
- ท่อระบายน้ำโสโครกจากบ่อบำบัดน้ำเสีย
แมลงวันหัวเขียว (Blow flies)
- จัดอยู่ใน Family Calliphoridae แมลงวันใน Family นี้ มีหลายชนิด ตัวอ่อนของแมลงวันพวกนี้กินซากสัตว์ที่ตายแล้ว หรือกินเนื้อเน่า นอกจากนี้ยังพบเป็นปรสิตของสัตว์ขาปล้องหลายชนิดด้วย แมลงวันใน Family นี้ มีลำตัวเทอะทะ และพบขนแข็ง (bristle) ตามลำตัว จำนวนมาก
- Family นี้ประกอบด้วยหลาย Subfamily แต่ที่มีความสำคัญทางการแพทย์และสัตวแพทย์ ได้แก่ Subfamily Calliphorinae และ Subfamily Chrysomyinae
- Subfamily Chrysomyinae มีลักษณะสำคัญดังนี้คือ ขนแข็ง (bristle) บนอกปล้องกลาง (mesonotum) เจริญไม่ดีนัก เส้นปีก stem vein จะไม่มีขนขึ้นเป็นแถว ตระกูลที่พบมาก ได้แก่ Chrysomya เป็นแมลงวันที่มีสีเขียวจนถึงสีน้ำเงินปนดำ และตระกูล Cochliomyia เป็น แมลงวันที่มีสีเขียวจนถึงสีเขียวอมม่วง
- Subfamily Calliphorinae มีลักษณะสำคัญดังนี้ ขนแข็ง (bristle) บนอกปล้องกลาง (mesonotum) เจริญดี เส้นปีก stem vein จะไม่มีขน ขึ้นเป็นแถว ตระกูลที่พบมาก ได้แก่ Luicilia, Phaenicia และ Calliphora โดยแมลงวัน Luicilia และ Phaenicia ส่วนอกและส่วนท้อง จะมี สีเขียวเป็นเงา เขียวทองแดง หรือทองแดง ขณะที่แมลงวัน Calliphora ส่วนอกจะมีสีดำ ส่วน ท้องมีสีน้ำเงินปนดำ หรือสีน้ำเงิน มันวาวสะท้อนแสง
- แมลงวันหัวเขียวที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ได้แก่ Chrysomya megacephala C. rufifacies, Phaenicia sericata และ P. cuprina
แมลงวันหัวเขียว (Chrysomya megacephala)
จัดอยู่ใน Subfamily Chrysomyinae พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปในแถบตะวันออกและออสเตรเลีย ไม่พบในเขตแอฟริกา เป็นแมลงวันหัวเขียวที่พบมาก ที่สุดในประเทศไทย แมลงวันชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีขนาดใหญ่ประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ลำตัวมันวาวสีน้ำเงินเขียว
วงจรชีวิตไข่แมลงวันหัวเขียว
จะฟักเป็นตัวหนอนภายในระยะเวลา 9-10 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 24-28 องศาเซลเซียส และสามารถวางไข่ได้ประมาณ 254 ฟอง ตัวหนอน จะเจริญได้ดีในอาหารเหลว โดยมีรายงานว่า อาหารที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการ เพาะเลี้ยงตัวหนอนของแมลงวันชนิดนี้ คือ อุจจาระ เหลว ตัวหนอนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บริเวณส่วนบนของอาหาร เนื่องจากต้องการอากาศสำหรับการหายใจ ตัวหนอนของแมลงวัน ชนิดนี้จะพบมากในมูลของสัตว์ที่กินเนื้อ ส่วนมูลของสัตว์ที่กินพืชจะพบน้อยมาก เช่น ม้า โค กระบือ เมื่อตัวหนอนเจริญเต็มที่แล้ว มันจะหาบริเวณที่แห้งเพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ และในที่สุดเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย
พฤติกรรมการกินอาหาร (Feeding behavior)
แมลงวันหัวเขียวจะพบมากบริเวณ แหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น โรงฆ่าสัตว์ แหล่งขายปลา ขายเนื้อสัตว์ โดยจะดูดกินบนเนื้อ สัตว์และปลา นอกจากนี้ยังพบบริเวณกองขยะหลังตลาด แหล่งกำจัดขยะมูลฝอยที่มีความชื้นสูง เศษอาหารและผลไม้ที่มีรสหวาน
พฤติกรรมและการแพร่กระจาย (Behavior and distribution)
แมลงวันหัวเขียว ชนิดนี้พบแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ที่มีความชื้นสูงกว่าแมลงวันบ้าน ความยืนยาวของ อายุขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นในธรรมชาติแมลงวันหัวเขียวชนิดนี้จะ วางไข่ในอุจจาระคน นอกจากนี้ยังชอบวางไข่ในซากสัตว์ ที่ตายแล้ว ส่วนในห้องปฏิบัติการ ตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้แล้ว 8-9 วัน จะเริ่มวางไข่ในช่วงเวลาบ่ายมากกว่าช่วงเวลาอื่น
แมลงวันหัวเขียว (Phaenicia sericata)
จัดอยู่ใน Subfamily Calliphorinae มีลักษณะที่สำคัญคือ ขน แข็ง (bristles) บนอกปล้องกลางเจริญดีและ stem vein จะไม่มีขนขึ้นเป็น แถวเป็นแมลงวันที่มีลำตัวมันวาวสีเขียวสด จึงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า green bottles ลำตัวมีขนาด 5-10 มิลลิเมตร
พฤติกรรมการกินอาหาร (Feeding behavior)
แมลงวันหัวเขียวชนิดนี้จะดูดกิน อาหารเหลวรวมทั้งอาหารจากแหล่งเพาะพันธุ์ โดยจะดูดกินของที่เป็นของเหลวที่เกิดจากการ หมักน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ตัวเต็มวัยตัวเมียต้องการโปรตีนเพื่อใช้ในการพัฒนาของไข่ให้ เจริญเต็มที่
แมลงวันหลังลาย (Flesh flies)
จัดอยู่ใน Family Sarcophagidae มีขนาดกลางจน ถึงใหญ่ โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่าแมลงวันบ้านและแมลงวันหัวเขียว ลำตัวมี สีเทาเข้มหรือสี เทาอ่อน สาเหตุที่เรียกว่า แมลงวันหลังลายเนื่องจากปล้องท้องด้านบนมีลายคล้ายตาหมากรุก แมลงวันหลังลาย บางครั้งออกลูกเป็นตัวอ่อน โดยอาจจะวางตัวอ่อนในบาดแผล ตัวอ่อนของ แมลงวันพวกนี้เจริญในบาดแผล บางชนิดวางตัวอ่อนใน เนื้อสัตว์ที่กำลังเน่า หรือวางตัวอ่อนในสิ่งเน่าเปื่อยผุพังอื่นๆ ตัวอ่อนแมลงวันหลังลายหลายชนิดเป็นสาเหตุของโรค myiasis ของคน และสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังเป็นปรสิตภายนอกร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด
แมลงวันหลังลาย Parasarcophaga ruficornis
เป็นแมลงวันหลังลายที่พบกระจายทั่วไปในประเทศไทย แต่มีความหนาแน่นต่ำ
วงจรชีวิตแมลงวันหลังลาย
ได้มีรายงานการศึกษาในห้องเลี้ยงแมลงด้วยอาหารผสม และเนื้อวัวสดแช่น้ำที่อุณหภูมิ 27 บวกลด 4 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 78 บวกลบ 4 พบว่าใน 1 วัน แมลงวันหลังลายชนิดนี้จะวางไข่ 1 ครั้ง หรือไม่วางไข่เลย จำนวนไข่ในแต่ละครั้ง 3-36 ฟอง และบางครั้ง ออกลูกเป็นตัว (larviparous) จำนวน 3-11 ตัวต่อครั้ง
อุณหภูมิ
จะมีผลต่อน้ำหนักของแมลงวัน พบว่า ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป จะทำให้ น้ำหนักของดักแด้และตัวเต็มวัยน้อยลงและที่อุณหภูมิสูง หรือต่ำเกินไปจะทำให้แมลงวันหลังลาย P. ruficornis ตายมากขึ้น ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตคือ 22-28 องศาเซลเซียส
พฤติกรรมการกินอาหาร (Feeding behavior)
แมลงวันหลังลายแต่ละชนิดจะกิน อาหารแตกต่างกันไป บางชนิดชอบกินตามมูลสัตว์และซากสัตว์เน่าเปื่อย หรือระยะที่มี อาหารเน่าเปื่อย บางชนิดชอบกินเนื้อสัตว์ บางชนิดชอบอาหารที่มีรสหวาน และบางชนิด ชอบอาหารทะเลหรือผลไม้ตากแห้ง สำหรับแมลงวันหลังลาย Parasarcophaga ruficornis พบว่าหากินตาม มูลคนและสัตว์ ซากสัตว์ รวมทั้งอาหารตากแห้ง และชอบดูดกินน้ำหวาน จากเกสรดอกไม้
แมลงวันเป็นพาหะนำโรค
1. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
ได้แก่ โรค
- บิด (Shigellosis) ได้แก่ บิดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Shigella sp.
- ไข้รากสาด (Salmonellosis) ได้แก่ ไข้ไทฟอยด์ พาราไทฟอยด์ ซึ่งเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย Salmonella
- อหิวาตกโรค (Cholera) ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae
- อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ซึ่งเกิดจากอาหารมีเชื้อปนเปื้อน
2. โรคที่เกิดจากโปรโตซัว
บิดมีตัว (Amoebic dysentery) ได้แก่ เชื้อ Entamoeba histolytica
3. หนอนพยาธิ
แมลงวันสามารถนำไข่ของหนอนพยาธิได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเส้นด้าย (Enterobius) พยาธิตัวกลม (Ascaris) พยาธิปากขอ (Ancylostoma) เป็นต้น
4. ไวรัส (Virus)
แมลงวันสามารถนำไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
5. โรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง
แมลงวันชอบบินเกาะตามแผลสามารถนำเชื้อไปได้ เช่น โรคคุดทะราด โรคเรื้อน
สุดท้ายนี้ หวังว่าเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับแมลงวัน คงจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน หากว่าท่านสนใจที่จะกำจัดแมลงวันในที่พักอาศัย หรือสถานที่ใดๆ สามารถใช้บริการของเรา Dr.ปลวก บริการกำจัดแมลงวันได้ครับ