ความรู้เกี่ยวกับไรฝุ่น (Knowledge about Dust Mite)
ตัวไรฝุ่น สัตว์ที่มีขนาดเล็กมาจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นสัตว์จำพวกแมลงแต่มีลักษณะคล้ายกับ แมงมุม เห็บ หมัด และ มีขา 8 ขา ชอบอาศัย อยู่ในบ้านของเรา ขนาดของไรฝุ่นจะวัดได้ 1 ส่วน 100 ของความยาวที่เป็นนิ้ว ซึ่งเทียบแล้วคือเล็กกว่าปากกาที่จุดลงบนกระดาษ อาหารของตัวไรฝุ่น คือ เซลล์ผิวหนังของคนและ สัตว์เลี้ยงที่ หลุดลอก ออกมาผิวหนังของคน นั้นโดยทั่วไปจะหลุดลอกวันละ ประมาณ 1.5 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่มากพอที่จะเลี้ยงตัวไรฝุ่นให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี นอกจากอาหารที่ได้จากคน ไรฝุ่นยังอาศัย พวกใยผ้า และขนสัตว์กินเป็นอาหารได้ด้วย ตัวไรฝุ่นไม่มีตาที่มองเห็น และไม่มีระบบหายใจ ตัวไรฝุ่นชอบอยู่ในที่อุ่นชื้น และเต็มไป ด้วยฝุ่นละออง อุปกรณ์การนอน เช่น หมอนหนุน ที่นอน พรม และเฟอร์นิเจอร์ผ้า เป็นสถานที่ที่ดีอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวไรฝุ่น
ตัวไรฝุ่น จะปล่อยมูลของเสียของมันออกมาประมาณวันละ 20 ก้อน และสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการสืบพันธุ์ของพวกมัน คือ ที่นอนที่มี ความอบอุ่น ชื้น และมืดของเรานั่นเอง ไรฝุ่นเพศเมียจะวางไข่วันละ 60-100 ฟอง พบเจอตัวไรฝุ่นง่ายๆ ได้ที่ไหนบ้าง ที่ไหนที่มี คนและสัตว์ มีความอุ่น มีอุณหภูมิความชื้นพอเหมาะที่ระดับ 60 % ที่นั่นคือที่อยู่อาศัยของไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นชอบอยู่ในที่ที่ดังต่อไปนี้ เป็นที่สุด กล่าวคือ ที่นอน เฟอร์นิเจอร์ทำจากวัสดุเส้นใยผ้า พรมปูห้อง พรมปูพื้น ผ้านวม หมอน ตุ๊กตาของเล่นที่ทำจากผ้า และ ทุกอย่างที่มีเส้นใยผ้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉลี่ยแล้ว เตียงนอน 1 เตียง สามารถเลี้ยงดูตัวไรฝุ่นได้หลายล้านตัว พวกเราใช้เวลานอน บนที่นอน กันประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งผิวของเราได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดและยาวนานกับมูลของไรฝุ่นที่มีสารทำให้เกิดภูมิแพ้ มีรายงานเกี่ยวกับตัวไรฝุ่นทั่วโลก ซึ่งสายพันธุ์จำนวน 13 สายพันธุ์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ไรฝุ่นมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 30 วัน และ ตัวเมียวางไข่วันละ 1 ฟอง จำนวนของตัวไรฝุ่นจะเพิ่มมากที่สุด ในช่วงฤดูร้อนในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น และลดจำนวนลงเหลือ น้อยที่สุด ในช่วงฤดูหนาว ตัวไรฝุ่นก็เหมือนกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคจะแพร่กระจายอย่างดีในสภาพบ้านที่อากาศถ่ายเทไม่ดี และ ตัวไรฝุ่นก็อาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ใหญ่ขาดงาน เด็กๆ ขาดเรียน เนื่องจากแพ้มูลของมัน ทำให้เกิด
วงจรชีวิตไรฝุ่น
ไรฝุ่น จะมีวงจรชีวิตอยู่ 5 ระยะ เมื่อตัวไรเริ่มผสมพันธุ์ ซึ่งหลังจากที่ผสมพันธุ์ได้ประมาณ 3-4 วัน ตัวเมียจะเริ่มทำการวางไข่เฉลี่ยวันละ 4-5 ครั้ง ครั้งละ 1 ฟอง จากนั้นไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวอ่อน เข้าสู่ระยะวัยรุ่น จะมีขา 6 ขา และทำการลอกคราบหลายครั้ง เมื่อโตเต็มวัยจะมี 8 ขา ตลอดชีวิตของไรฝุ่น 1 ตัวสามารถออกไข่ได้ถึง 80 – 100 ฟอง
ไรฝุ่นจะมีช่วงอายุไข ประมาณ 30 วัน ถึงแม้จะตายไปก็ยังทิ้งซากไว้เป็นสารก่อภูมิแพ้ให้มนุษย์อีกทางหนึ่ง
เกิดปฎิกิริยากระตุ้นภูมิแพ้
มีการคันตามผิวหนัง น้ำตาไหล ไอ เวียนศีรษะ หมดแรง หายใจไม่สะดวก และมีปัญหาระบบย่อยอาหาร ตัวไรฝุ่นทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ อย่างไร คนที่แพ้ไรฝุ่น หมายถึง คนที่มีปฎิกิริยาต่อโปรตีนในตัวและในมูลของไรฝุ่น ภูมิแพ้ไรฝุ่นคือ ปฎิกิริยาที่ไวต่อโปรตีนของ ตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว โปรตีนดังกล่าวจะมีผลเสียต่อทางเดินหายใจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรงและโรคหอบหืด และยัง ทำให้คนที่มีแนวโน้ม จะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมีอาการของโรคมากขึ้น ตัวไรฝุ่นที่ตายจะมีจำนวนโปรตีนจำนวนมาก เมื่อเราสูด ลมหายใจหรือผิวหนังของเราสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตาย ร่างกายของเราก็จะ สร้างภูมิต้านทาน (antibodies) ขึ้นมา ภูมิต้านทานนี้จะปล่อย สารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดการบวมและการระคายเคืองของทางเดินหายใจตอนต้น นั่นก็คือ อาการของโรคทางเดินหายใจ อักเสบและโรคหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย
สารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่นอาจเป็นสาเหตุของโรคต่อไปนี้
- โรคทางเดินหายใจอักเสบตลอดปี
- โรคจมูกอักเสบ (น้ำมูกไหลและมีการจาม)
- โรคหอบหืดในระยะต่อไป
- โรคปวดศีรษะ
- โรคตาอักเสบ (ตาระคายเคือง)
- โรคหอบหืด (ไอและมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ)
- โรคผิวหนังอักเสบ (ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น มีผื่นแดงและคัน)
- โรคผื่นคัน
ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้เกี่ยวกับไรฝุ่น หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ และหากท่านต้องการอยากจะกำจัดตัวไรฝุ่นตามบ้าน หรือสถานที่ต่างๆ ที่ Dr.ปลวก เรายังมีบริการรับกำจัดไรฝุ่นอีกด้วย