ความรู้เกี่ยวกับเห็บหมัด (Knowledge about Flea Tick)
เห็บ (Ticks)
เห็บ : เป็นสัตว์ขาข้อ ที่ถูกจัดอยู่ใน Class Arachnida, Subclass Acari มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ขาข้อกลุ่มอื่นๆ ดังนี้
- ตัวเต็มวัย : มี 8 ขา ตัวอ่อนมี 6 ขา ไม่มีปีก ไม่มีหนวด
- ลำตัว : ไม่แบ่งเป็นปล้อง ลักษณะกลมรี เป็นแบบ sac-like body ซึ่งแบ่งออกเป็น โซนต่างๆ คือ
- ส่วนที่เป็นลำตัวทั้งหมด เรียกว่า “Idiosoma” ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 โซนด้วยกัน คือ Podosoma เริ่มตั้งแต่ปลายด้านหัวลงไป จนถึงโคนขาคู่ที่ 4 และ Opisthosoma เริ่มตั้งแต่โคนขาคู่ที่ 4 ไปจนถึงด้านท้ายลำตัว ในแต่ละ โซนสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก ดังภาพ
- Gnathosoma (capitulum) เป็นเพียงส่วนปากที่ยื่นไปทางด้านหน้าคล้าย ส่วนหัว มีเพียงอวัยวะของปาก เท่านั้น คือ basis capituli (ฐาน), pedipalp 1 คู่, chelicerae 1 คู่ และ hypostome 1 อัน
- สัตว์ขาข้อใน Subclass Acari : ถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 superorder คือ
- Superorder Parasitiformes ประกอบด้วย Order Opilioacarida, Holothyrida, Ixodida และ Mesostigmata
- Superorder Acariformes ประกอบด้วย Order Prostigmata (Trombidiformes) and Sarcoptiformes
เห็บ : ถูกจัดอยู่ใน Order Ixodida ซึ่งมีอวัยวะของส่วนปากที่เรียกว่า hypostome ลักษณะเป็น แท่งมีหนามล้อมรอบ เห็บมีมากกว่า 800 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นปรสิตภายนอกของ สัตว์หลายชนิด ดูดกินเลือดเป็นอาหารทั้งเพศผู้และเพศเมีย เห็บมีสองกลุ่ม คือ เห็บแข็ง (hard ticks : Family Ixodidae) และเห็บอ่อน (soft ticks : Family Argasidae)
เห็บแข็ง (Hard ticks)
- มีลำตัวลักษณะรูปไข่คล้ายถุงน้ำ แบนราบ เมื่อมองจากด้านบนจะมองเห็น ส่วน capitulum ซึ่งอยู่ด้านหน้าลำตัวชัดเจน อวัยวะส่วนปาก ที่เรียกว่า “chelicerae” มี เปลือกหุ้มลักษณะขรุขระ เห็บในกลุ่มเห็บแข็งจะมีแผ่นแข็งคลุมส่วนบนของลำตัว เรียกว่า “scutum” เห็บแข็งเพศผู้มีแผ่น scutum ขนาดใหญ่คลุมตลอดส่วนบน แต่เห็บแข็งเพศเมียมีแผ่น scutum คลุมเพียงครึ่งหนึ่งของลำตัวส่วนหน้า เท่านั้น เมื่อเห็บแข็งเพศเมียมีไข่อยู่เต็มภายในลำตัว แผ่น scutum จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเห็บมาก เห็บแข็งมีตาเดี่ยวอยู่บริเวณมุมของแผ่น scutum ส่วนรูหายใจของเห็บแข็งอยู่ตรงด้านข้างลำตัวบริเวณหลังโคนขาคู่ที่สี่ ด้านท้ายลำตัวของเห็บแข็งมีรอยหยักตามขอบ เรียกว่า “festoon” ช่องขับถ่ายมีร่องโดยรอบ เรียกว่า “anal groove” ส่วนรูเปิดของอวัยวะสืบพันธุ์อยู่บริเวณกึ่งกลางลำตัวสามารถใช้ ลักษณะ รูปร่างของรูเปิดอวัยวะสืบพันธุ์นี้แยกเพศของเห็บแข็งได้ โดยเห็บเพศผู้มีลักษณะของ รูเปิดเป็นรูปกลม แต่ในเพศเมียมีรูปรี
- เห็บแข็ง ประกอบด้วย เห็บต่างๆ จำนวน 11 genus แต่ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ได้แก่ เห็บแข็ง ชนิด Rhipicephalus, Ixodes, Dermacentor, Amblyomma, Aponomma spp.
เห็บอ่อน (Soft ticks)
- ลักษณะของเห็บอ่อน ที่แตกต่างจาก เห็บแข็ง คือ ส่วน capitulum อยู่ใต้ลำตัว เห็บ (Ticks) 97 EGGS female male LARVA NYMPH ADULT ไม่สามารถมองเห็นได้จากด้านบน Chelicerae sheath เรียบ รูหายใจของเห็บอ่อนอยู่บริเวณ ระหว่างโคนขาคู่ที่ 3 และ 4 ด้านบนลำตัวไม่มีแผ่น scutum และไม่มี festoon
- เห็บอ่อน ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ได้แก่ ชนิด Argus, Ornithodoros, Otobius spp.
เห็บมีการเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) ประกอบด้วยระยะไข่ (egg) ตัวอ่อน 6 ขา (larva) ตัวกลางวัย 8 ขา (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) การผสมพันธุ์เกิดขึ้นหลังจากเห็บดูดกินเลือดแล้ว
เห็บเพศเมีย วางไข่เป็นกลุ่มตามรอยแตกของผนัง พื้นดิน มุมห้อง เห็บเพศเมียตัวหนึ่ง สามารถออกไข่ได้ตั้งแต่ 1,000-8,000 ใบ เมื่อวางไข่แล้ว เห็บเพศเมียจะตาย ไข่มีรูปร่างกลมหรือรี ขนาดเล็ก ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวอ่อน ประมาณ 2 สัปดาห์ถึงหลายเดือน ตัวอ่อน 6 ขา เรียกว่า “seed tick” จะไต่ไปอยู่ตามพุ่มไม้ กอหญ้า รอคอยโฮสต์เพื่อกัดกินเลือดแล้วจึงลอกคราบเป็นตัวกลางวัย 8 ขา ซึ่งอวัยวะสืบพันธุ์ยัง ไม่เจริญเต็มที่ หลังจากนั้นจึงลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของเห็บใช้เวลาตั้งแต่ สัปดาห์จนถึงปี เห็บบางชนิดมีชีวิตอยู่ได้นานหลายสิบปี
วงจรชีวิตเห็บ
เห็บมีวงจรชีวิต 4 ระยะ ได้แก่
- ไข่ (Egg)
- ตัวอ่อน (Larva หรือ Seed ticks) มี 6 ขา,
- ตัวกลางวัย (Nymph) มี 8 ขา
- ตัวเต็มวัย (Adult) มี 8 ขา
การอยู่อาศัย
กัดดูดกินเลือดบนตัวโฮสต์ของเห็บ สามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
- One-host ticks เป็นเห็บที่อาศัยอยู่บนโฮสต์ตัวเดียวตลอดการเจริญเติบโตโดยไม่ เปลี่ยนโฮสต์ตัวใหม่เลย
- Two-host ticks เป็นเห็บที่อาศัยอยู่บนตัวโฮสต์ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนเป็นระยะ ตัวกลางวัย แล้วจึงผละทิ้งโฮสต์เดิมไปลอกคราบ เป็นตัวเต็มวัย แล้วจึงหาโฮสต์ตัวใหม่ต่อไป
- Three-host ticks เป็นเห็บที่มีการเปลี่ยนโฮสต์ตั้งแต่ระยะตัวอ่อน ตัวกลางวัย และ ตัวเต็มวัย โดยโฮสต์ใหม่จะเป็นสัตว์ชนิดใหม่ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
- Multiple-host ticks (เห็บแข็ง ส่วนใหญ่อยู่ในพวกนี้) เป็นเห็บที่เปลี่ยนโฮสต์ได้หลายชนิด ซึ่งเป็นโฮสต์ขนาดเล็ก เช่น นก ค้างคาว หนู มักเป็นเห็บอ่อน เนื่องจากกัดกิน เลือดในเวลาสั้นๆ และมีตัวกลางวัยหลายระยะ
โรคที่มีเห็บเป็นพาหะและจากสาเหตุ ได้แก่
- Tick bite paralysis การกัดของเห็บเพศเมียทำให้เป็นอัมพาตแบบ ascending flaccid paralysis ซึ่งเกิดจากโปรตีน ในน้ำลายของเห็บเพศเมีย โดยจะเริ่มเป็นอัมพาตตรง บริเวณที่ถูกเห็บกัด แล้วขยายไปยังส่วนอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้ เสียชีวิตด้วยอาการหายใจล้มเหลว ได้ อาการอัมพาตจะทุเลาลงอย่างรวดเร็วเมื่อดึงเอาตัวเห็บออก ชนิดของเห็บที่เป็น สาเหตุ ได้แก่ Dermacentor, Ixodes spp. และเห็บอ่อนบางชนิด
- Tick typhus หรือ Spotted fever group (Tick-borne rickettsial fevers) เกิดจาก เชื้อ Rickettsia spp. ได้แก่ Rocky Mountain spotted fever, Boutanneous fever, Queensland tick typhus, Siberian tick typhus นำโดยเห็บแข็ง หลายชนิด
- Lyme disease เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดสไปโรคีต นอกจากนั้นแล้ว ยังมีรายงานการเป็นพาหะนำโรคอื่นๆ ในต่างประเทศ ได้แก่ Q fever, Tick-borne viral encephalitis, Colorado tick fever, Tick-borne viral hemorrhagic fever, Tick-borne relapsing fever, Tularemia, Babesioses เป็นต้น
หมัด (Fleas)
หมัด : เป็นแมลงที่อยู่ในกลุ่ม Order Siphonaptera ซึ่งเป็นแมลงไม่มีปีกที่มีลำตัวแบนในแนวตั้ง (vertically flattened) และมี ปากแบบแทงดูดเลือด (piercing-sucking) ส่วนใหญ่เป็นปรสิตภายนอกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ปีกบางชนิด กัดดูดเลือดคนได้ หมัดทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 2,000 ชนิด ในจำนวนนี้มีประมาณ 30 ชนิดที่มีความสำคัญ ทางการแพทย์และ สาธารณสุข ได้แก่ หมัดหนู Xenopsylla spp., หมัดสุนัข Ctenocephalides canis, หมัดแมว Ctenocephalides felis, หมัดคน Pulex irritans และหมัด Chigoe Tunga penetrans เป็นต้น
รูปร่างหมัด
- หมัด : มีลำตัวแบนทางด้านตั้ง (vertically flattened) ขนาดเล็กประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ไม่มีปีก ลำตัวแข็งเป็นมัน มีสีน้ำตาล อ่อนถึงน้ำตาลเข้ม มีขนและหนาม ทั่วไปบนลำตัว ปากเป็นแท่งสั้นแบบแทงดูด (piercing-sucking)
- ส่วนหัวของหมัด : มีขนาดเล็ก ที่บริเวณแก้ม (gena) ของหมัดบางชนิดมีแผงขนหนา ลักษณะคล้ายซี่หวี เรียกว่า “genal comb” หรือ “genal ctenidium” ด้านบนของ ส่วน gena เป็นตำแหน่งของตารวม และหนวด (antenna) ซึ่งมีอย่างละ 1 คู่
- ส่วนอกของหมัด : มี 3 ปล้อง หมัดบางชนิดมีแผงขนหนาตรงด้านท้ายของอกปล้อง แรกเรียกว่า “pronotal comb” หรือ “pronotal ctenedium” หมัดบางชนิดมีลาย บริเวณด้านข้างของอกปล้องกลางเป็นรูปแท่งเรียกว่า “mesopleural rod” สามารถ ใช้ในการจำแนกชนิดได้
- หมัด : มีขายาว 3 คู่ ขาคู่หลังแข็งแรงใช้กระโดด สามารถกระโดดได้ไกลถึง 14 นิ้ว และสูงถึง 8 นิ้ว เคลื่อนที่ได้คล่องแคล่ว ว่องไว
- ส่วนท้องของหมัด : มีทั้งหมด 9 ปล้อง รูปร่างของส่วนท้องแตกต่างกันตามเพศ หมัด เพศผู้มีปลายส่วนท้องงอนขึ้น และ มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ (claspers) ติดอยู่ ส่วนหมัดเพศเมียปลายท้องกลมมนและมีถุงเก็บสเปิร์ม (spermatheca) อยู่ ภายในช่องท้อง รูปร่างของถุงเก็บสเปิร์มนี้ สามารถใช้ในการจำแนกชนิดของหมัดได้
วงจรชีวิตของหมัด
หมัด : มีการเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนแปลงรูปร่างสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ
- ไข่ (egg)
- ตัวอ่อน (larva)
- ดักแด้ (pupa)
- ตัวเต็มวัย (adult)
ผสมพันธุ์หลังจากได้กินเลือด หลังจากนั้นหมัดเพศเมียสามารถวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 20 ใบ ได้ 400-500 ใบ โดยวางไข่ตามรังของโฮสต์ หรือตามพื้นดินเปียกชื้น ไข่ของหมัดมี ลักษณะรูปไข่ สีขาว ขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 2 วันถึง 2 สัปดาห์ โดยฟักเป็นตัวอ่อนรูปร่างคล้าย หนอนแมลงวัน ไม่มีขา ไม่มีตา ส่วนหัวมีสีเข้ม ส่วนท้ายลำตัว มีตุ่มคล้ายตะขอ 1 คู่ หนอนหมัดไม่ชอบ แสงสว่าง กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินหรือมูลจากหมัด ตัวแก่เป็นอาหาร ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ในสภาพที่มีอาหาร เพียงพอระยะตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงเข้าดักแด้โดยถักใยหุ้มลำตัวติดกับเศษขี้ผง ด้วย เมื่อสภาพแวดล้อม เหมาะสมจึงออกเป็นตัวเต็มวัย โดยปกติใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ ระยะเวลา ที่ใช้ใน การเจริญเติบโตของหมัดขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น และอาหาร หมัดใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ จนถึง หลายเดือนขึ้นอยู่กับชนิดและปัจจัยแวดล้อม ทั้งหมัดเพศผู้และหมัดเพศเมียกัดกิน เลือดเป็นอาหาร หมัดส่วนใหญ่เฉพาะเจาะจงโฮสต์ แต่บางชนิดก็สามารถกินเลือดจากโฮสต์ ชนิดอื่นได้ด้วย สามารถอดอาหาร ได้นานหลายเดือน